เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 10

9. บุคคลหนึ่งจำอากาสกสิณ (กสิณคือความว่าง)ได้ ...
10. บุคคลหนึ่งจำวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ

3
[347] อกุศลกรรมบถ1(ทางแห่งอกุศลกรรม) 10

1. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)
2. อทินนาทาน (การลักทรัพย์)
3. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
4. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
5. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
6. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ)
7. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
8. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
9. พยาบาท (ความคิดร้าย)
10. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

4
กุศลกรรมบถ2 (ทางแห่งกุศลกรรม) 10

1. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์)
2. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์)
3. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
4. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
5. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด)
6. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ)
7. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/178/330
2 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/178/330-331

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :362 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 10

8. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
9. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย)
10. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

5
[348] อริยวาส1 (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) 10
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ละองค์ 5 ได้
2. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ 6
3. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก
4. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) 4 ประการ
5. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ2 อันบรรเทาได้
6. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
7. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
8. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้
9. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี
10. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ 5 ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ได้ เป็นผู้
ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) ได้ เป็นผู้
ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ได้
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ 5 ได้ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/20/39-42
2 ปัจเจกสัจจะ หมายถึงความเห็นส่วนตัวของแต่ละคนที่แตกต่างกันไปโดยยึดถือว่า “ความเห็นนี้เท่านั้นจริง
ความเห็นนี้เท่านั้นจริง” (ที.ปา.อ. 348/251, องฺ.ทสก.อ. 3/20/324)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :363 }